ขนมชั้น
ประวัติความเป็นมา สมัยสุโขทัย ขนมไทยมีที่มาคู่กับชนชาติไทย จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศคือ จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินร่วมไปด้วยและเริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศ ทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ขนมชั้น
วิธีทำขนมชั้น
1. เริ่มจากเคี่ยวกะทิน้ำเชื่อมก่อนเลย…แบ่งกะทิ 1/3 ใส่หม้อไปตั้งไฟอ่อนๆ เอาน้ำตาลทรายใส่ และเอาใบเตยหั่นเป็นชิ้นใส่ลงไปพร้อมกันเลย…จากนั้นเคี่ยวเอาแค่พอน้ำตาลทรายละลายสักครู่ไม่ถึงกับดือด (จะได้กลิ่นหอมของใบเตยออกมา) แล้วยกลงรอให้เย็น
2. ผสมแป้งทั้ง 3 อย่างให้เข้ากัน แล้วนำแป้งไปผสมกับกะทิทีละน้อยๆนวดให้เข้ากัน ดังนี้;
2.1) เอาแป้งทั้งสามอย่างผสมลงในหม้อ (หรือชามผสมก็ได้) คนให้เข้ากันและทำบ่อตรงกลาง
2.2) เอาน้ำกะทิที่เหลือค่อยๆใส่ลงไป สัก 1-2 ถ้วย
2.3) คนแป้งกับกะทิด้วยทัพพี คนแป้งไปเรื่อยๆ…พอแป้งแข็งจับเป็นก้อนเติมกะทิลงไปอีก 1-2 ถ้วย
2.4) ใส่กะทิเมื่อแป้งเริ่มหนืด…และคนต่อไปจนแป้งทั้งหมดละลาย…ทำจนกะทิหมด
2.5) จะได้แป้งละลายไม่เป็นก้อน
2.6) จากนั้นจึงเติมน้ำเชื่อมกะทิลงไป แล้วคนๆๆๆๆ อีก 5-10 นาที
3. เอาซึ้งใส่น้ำประมาณ ¾ ของรังถึง ตั้งไฟใช้ไฟแรง…ตั้งน้ำจนเดือด
4. จากนั้นนำถาดอลูมิเนียมสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือพิมพ์ไปนึ่งในซึ้งน้ำเดือดให้ร้อนจัด ประมาณ 5 นาที (เพื่อป้องกันขนมติดขอบพิมพ์)
5. แบ่งแป้งเป็น 2 ถ้วย โดยถ้วยที่ 1 ผสมกับน้ำใบเตย และถ้วยที่ 2 เป็นน้ำแป้งสีขาว…โดยสีในแป้งให้ผสมอ่อนกว่าสีที่ต้องการ เพราะเวลานึ่งสุก สีของขนมจะเข้มขึ้นอีก
6. หยอดแป้งขนมลงถาดหรือพิมพ์ที่เตียมไว้ ตักแป้งใส่แต่ละครั้งให้สลับสีกัน (ปริมาณเท่ากัน) ใช้เวลานึ่ง 5-7 นาทีต่อชั้น (ให้สังเกตุแป้งที่สุกจะมีลักษณะใสเป็นเงา) เมื่อแป้งสุกแล้วจึงค่อยหยอดชั้นต่อไปเรื่อยๆ จนเต็มถาด…นึ่งจนสุก
· ถ้าใช้พิมพ์ 5ซม. ให้หยอด 3-4 ชั้น แต่ละชั้นใช้แป้งประมาณ ¾ ช้อนโต๊ะ ใช้เวลานึ่ง 5-7 นาทีต่อชั้น
7. เมื่อขนมสุกแล้ว...ให้ปิดฝารังถึงก่อน แล้วยกถาดขนมออก ขนมที่ยกลงจากรังถึงให้วางพักบนตะแกรงพักจนเย็นสนิทซะก่อน…แล้วจึงค่อยแกะขนมออกจากถาด และหั่นแบ่งเป็นขนาดตามต้องการ ให้จุ่มมีดลงในน้ำร้อน แล้วกดลงบนขนมเป็นชิ้นๆ (เพื่อไม่ให้น่าขนมเละ) จัดใส่จานพร้อมเสิร์ฟ
ส่วนผสม
แป้งมันสำปะหลัง 300 กรัม
แป้งท้าวยายม่อม 40 กรัม
แป้งข้าวเจ้า 40 กรัม
น้ำตาลทราย 600 กรัม (เป็นสูตรหวานกำลังดี)
กะทิกล่อง(อร่อยดี) 850 กรัม (หรือ 850 มิลลิลิตร …คืออันเดียวกันมีค่าเทียบเท่ากัน)
ใบเตย
** หมายเหตุ : สูตรนี้ได้ 50 ชิ้น สำหรับพิมพ์ขนาด 5 ซม.
แป้งข้าวเจ้า 40 กรัม
น้ำตาลทราย 600 กรัม (เป็นสูตรหวานกำลังดี)
กะทิกล่อง(อร่อยดี) 850 กรัม (หรือ 850 มิลลิลิตร …คืออันเดียวกันมีค่าเทียบเท่ากัน)
ใบเตย
สีผสมอาหารตามชอบ / หรือน้ำคั้นจากดอกอัญชัน-ใบเตย (ใช้น้ำคั้นเท่าไหร่…ก็ลดปริมาณกะทิลงเป็นจำนวนเท่ากัน)
** หมายเหตุ : สูตรนี้ได้ 50 ชิ้น สำหรับพิมพ์ขนาด 5 ซม.
เคล็ดลับการนึ่งขนมชั้นให้อร่อย
1. การตักแป้งหยอดแต่ละชั้น ให้ตักแป้งใส่สลับสีกัน ส่วนชั้นสุดท้ายควรใส่เป็นสีเข้มครับดูมีสีสันน่ารับประทาน
2. การตักแป้งหยอดชั้นถัดไป จะต้องให้แป้งขนมชั้นล่างสุกซะก่อน…สังเกตุคือจะมีลักษณะใสเป็นเงา เพราะถ้าแป้งชั้นใดชั้นหนึ่งไม่สุก ชั้นต่อๆไปก็จะนึ่งไม่สุกด้วย ใช้เวลานึ่งประมาณ 5-7 นาทีต่อชั้น (ขึ้นอยู่กับปริมาณแป้งที่ใส่…ถ้าปริมาณแป้งมาก, ก็ใช้เวลานึ่งมากด้วย) แล้วจึงใส่แป้งชั้นต่อไป
3. ก่อนจะหยอดส่วนผสมแป้งทุกครั้ง ควรคนส่วนผสมให้เข้ากันก่อน เพราะแป้งมักจะนอนก้น
4. การนึ่งขนมในแต่ละชั้น…ทุกครั้งที่จะปิดฝารังถึง…ให้เอาผ้าสะอาดเช็ดหยดน้ำที่เกาะอยู่ในฝาซึ้งให้แห้งก่อนทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ละอองน้ำที่ฝารังถึงหยดลงบนหน้าขนม
5. ขนมชั้นที่ดี เวลาสุกแล้วจะมีหน้าขนมเรียบ แป้งมีความเหนียวนุ่ม และสามารถลอกเป็นชั้นๆได้ มีรสชาติหอมหวานมันกำลังดี
2. การตักแป้งหยอดชั้นถัดไป จะต้องให้แป้งขนมชั้นล่างสุกซะก่อน…สังเกตุคือจะมีลักษณะใสเป็นเงา เพราะถ้าแป้งชั้นใดชั้นหนึ่งไม่สุก ชั้นต่อๆไปก็จะนึ่งไม่สุกด้วย ใช้เวลานึ่งประมาณ 5-7 นาทีต่อชั้น (ขึ้นอยู่กับปริมาณแป้งที่ใส่…ถ้าปริมาณแป้งมาก, ก็ใช้เวลานึ่งมากด้วย) แล้วจึงใส่แป้งชั้นต่อไป
3. ก่อนจะหยอดส่วนผสมแป้งทุกครั้ง ควรคนส่วนผสมให้เข้ากันก่อน เพราะแป้งมักจะนอนก้น
4. การนึ่งขนมในแต่ละชั้น…ทุกครั้งที่จะปิดฝารังถึง…ให้เอาผ้าสะอาดเช็ดหยดน้ำที่เกาะอยู่ในฝาซึ้งให้แห้งก่อนทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ละอองน้ำที่ฝารังถึงหยดลงบนหน้าขนม
5. ขนมชั้นที่ดี เวลาสุกแล้วจะมีหน้าขนมเรียบ แป้งมีความเหนียวนุ่ม และสามารถลอกเป็นชั้นๆได้ มีรสชาติหอมหวานมันกำลังดี
เคล็ดลับความอร่อย
แป้งแต่ละชนิดที่เป็นส่วนผสมในขนมชั้นล้วนแต่มีความสำคัญแตกต่างกันไป ดังนี้
· แป้งมัน ทำให้เนื้อขนมเนียน นุ่ม เหนียว หนืด ดูใสเป็นมัน
· แป้งท้าวยายม่อม ทำให้เนื้อขนมเนียน เหนียว แข็ง แต่จะใสน้อยกว่าแป้งมัน
· แป้งข้าวเจ้า ทำให้เนื้อขนมแข็ง และอยู่ตัว
· แป้งถั่ว จะทำให้ขนมอยู่ตัว ไม่เหนียวมากเกินไป
แป้งแต่ละชนิดที่เป็นส่วนผสมในขนมชั้นล้วนแต่มีความสำคัญแตกต่างกันไป ดังนี้
· แป้งมัน ทำให้เนื้อขนมเนียน นุ่ม เหนียว หนืด ดูใสเป็นมัน
· แป้งท้าวยายม่อม ทำให้เนื้อขนมเนียน เหนียว แข็ง แต่จะใสน้อยกว่าแป้งมัน
· แป้งข้าวเจ้า ทำให้เนื้อขนมแข็ง และอยู่ตัว
· แป้งถั่ว จะทำให้ขนมอยู่ตัว ไม่เหนียวมากเกินไป
กะทิ เป็นส่วนของเหลวที่จำเป็นมากในขนมชั้นทำให้ขนมทั้งหอมและมัน
· ถ้าใส่มากจะทำให้ขนมเหลว ลอกชั้นได้ยาก
· ถ้ากะทิน้อย ขนมจะแข็งกระด้างไม่น่ารับประทาน
· ใช้กะทิที่เข้มข้นพอดี จะทำให้ขนมเป็นชั้นลอกออกจากกันได้ง่าย ผิวดูเป็นมัน เวลาหยิบไม่ติดมือ
น้ำตาล สิ่งเดียวที่จะให้รสชาติความหวานในขนมชั้น
ถ้าใส่น้ำตาลมากไปขนมจะหวานจัด แฉะ ลอกชั้นได้ยาก ความเหนียวของขนมก็จะน้อยลงด้วย
· ถ้าใส่มากจะทำให้ขนมเหลว ลอกชั้นได้ยาก
· ถ้ากะทิน้อย ขนมจะแข็งกระด้างไม่น่ารับประทาน
· ใช้กะทิที่เข้มข้นพอดี จะทำให้ขนมเป็นชั้นลอกออกจากกันได้ง่าย ผิวดูเป็นมัน เวลาหยิบไม่ติดมือ
น้ำตาล สิ่งเดียวที่จะให้รสชาติความหวานในขนมชั้น
ถ้าใส่น้ำตาลมากไปขนมจะหวานจัด แฉะ ลอกชั้นได้ยาก ความเหนียวของขนมก็จะน้อยลงด้วย